14 ม.ค. 2562
แรงงานชาวกัมพูชา ที่เดินทางเข้ามาขายแรงงาน ที่มีทั้งเข้ามาพักในฝั่งไทย ตามสัญญาเอ็มโอยูและไปกลับ ส่วนมากร้อยละ90 จะเป็นแรงงงานทางด้านการเกษตร โดยเฉพาะสวนลำไย ที่ชาวกัมพูชาเหล่านี้ ได้เข้ามามีบทบทเป็นอันมาก ในการเก็บเกี่ยวผลผลิต จากสวนสู่ล้งผลไม้ เพื่อรวบรวมส่งออกต่างประเทศ
แรงงานเหล่านี้จะถูกจัดหาและรวบรวมเป็นชุดใหญ่ จากนายหน้าของ ล้งลำใยวิ่งหาซื้อลำใยจากสวน ส่งให้กับล้งที่เจ้าของเป็นคนจีน โดยต้องใช้แรงงานในการเก็บผลผลิตชุดละ ไม่ต่ำกว่า100คนถึง200คนขึ้นไป ตามแต่จำนวนพื้นที่มากน้อย อย่างสวนลำไยสวนนี้ บริเวณอ่างเก็บน้ำคลองพระพุทธ ต.เทพนิมิตร อ.โป่งน้ำร้อน ที่ปลูกลำไย จำนวน20ไร่ ต้องใช้แรงงานในการเก็บวันละร้อยกว่าคน โดยเจ้าของสวน จะไม่มีบทบาทและส่วนเกี่ยวข้องจัดการเรื่องการเก็บเกี่ยวและการจัดส่งล้ง นายหน้า จากล้ง จะเป็นผู้ควบคุมดำเนินการทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการเก็บผลจากต้น นำมาคัดแยกแบบพวงและผลร่วง พร้อมกับการบรรจุตะกร้า จนถึงการลำเลียงขึ้นรถยนต์ของนายหน้า เพื่อขนส่งไปยังล้งรับซื้อ โดยนายหน้ารับซื้อประมาณการรายได้ของเจ้าของสวนลำใยสวนนี้ว่า หลักเก็บผลผลิตเสร็จก็รับเงินสดทันทีจำนวน2ล้านนาท ส่วนนายหน้าจะได้ค่าดำเนินการจัดการกิโลกรัมละ1บาท แต่ปัญหาที่เกิดขึ้น ในปัจจุบันนี้คือ ปัญหาขาดแคลนแรงงานโดยเฉพาะเรื่อวงบัตรแรงงานต่างด้าว ที่จะหมดลงอยากให้มีการพิจารณาเลื่อนอออกไปสักระยะหนึ่ง สำหรับค่าแรงงานเก็บลำใยของชาวกัมพูชา ทางนายหน้าจะไม่จ่ายค่าแรงแบบรายวันตามกฎหมายค่าแรงงาน แต่จะจ่ายเงินตามจำนวนตะกร้าบรรจุลำไย ค่าแรงแบบนี้ได้เงินจำนวนมากว่าการขายแรงงานนายวัน
ทางด้านแรงงานชาวกัมพูชา บอกว่า ตนมารับจ้างขายแรงานและพักอญู่ในประเทศไทยตามข้อตกลงการทำ เอ็มโอยู ระหว่าประเทศ ได้ค่างานการเก็บลำใยตระกร้าละ40บาท วันหนึ่งสามารถเก็บลำใยได้20ตะกร้าก็ได้เงินไทยจำนวน800บาท ถ้าคิดเป็นเงินกัมพูชาก็ได้ถึงสิบหมื่นเรียล
ทางด้านนายกสมาคมการค้าและการท่องเที่ยวชายแดนไทย กัมพูชา จันทบุรี ดร.รัฐวิทย์ ตั้งเกียรติพชร ( ตั้ง เกียรติ์ พัด ชะ ระ ) ได้ให้สัมภาษณ์ ถึงกรณีปัญหาเริ่มขาดแคลนแรงงานและมุมมองระยะไกลว่า ได้รวบรวมรายได้การส่งออกพืชผลทางการเกษตร พบว่าจันทบุรีมารายได้เข้าจังหวัดปีละห้าหมื่นกว่าล้านบาท และสิ่งจำเป็นคือแรงงาน จะเห็นได้ว่าปีนี้ลำใยรุ่นแรกเริ่มต้นเพียงแค่กิโลกรัมละ30บาท เนื่องจากเก็บไม่ทันเพราะขาดแคลนแรงงาน ความเสียหายของผลไม้ในสวนจึงมากขึ้น ปัจจัยที่ตามมาคือราคาต่ำลง เมื่อขาดแคลนแรงงาน การบริหารจัดการเพื่อส่งไปยังตลาดปลายทางไม่ทัน ความเสียหายจึงเกิดขึ้น ปัจจุบันนี้ นักลงทุนต่างชาติได้หันไปลงทุนในประเทศกัมพูชากันมากขึ้น และอนาคตอีกไม่กิน5ปี สินค้าที่ทางกัมพูชาเคยสั่งซื้อจากบ้านเราก็ไม่สั่ง เพราะสามารถผลิตเองได้ อย่างไรก็ตาม ดร.รัฐวิทย์ ตั้งเกียรติพชร นายกสมาคมการค้าและการท่องเที่ยวชายแดนไทย กัมพูชา จันทบุรี ยืนยันว่า แรงงานชาวกัมพูชา ลาว พม่า ยังสำคัญมากสำหรับทางด้านการทำการเกษตร ตนเองได้เสนอระบบการบริหารจัดการพื้นที่ติดตามนาวชายแดน กับการใช้แรงงาน ที่เป็นระบบ7วัน คือเข้าอยู่ได้7วันแล้ว กลับออกไปแล้วกลับเข้ามาใหม่ ควรเน้นเรื่องการทำบัตรประกันสุขภาพเฉพาะพื้นที่ติดชายแดน โดยไม่ต้องไปยืดติดกับกรอบ ทำให้ภาครัฐโดยเฉพาะโรงพยาบาลได้ประโยชน์ ไม่ต้องมารับภาระ ส่วนในพื้นที่ต่างอำเภอเจ้าของกิจการต้องแบกภาระ บางที่เจ้าของสวนต้องการใช้แรงงานเพียงแค่7วัน10วัน แต่ต้องทำตามระเบียบ3เดือน ที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก อยากให้มีการพิจารณาระเบียบปฎิบัติ ถ้าไม่การเร่งแก้ไข สิ่งที่ชาวบ้านและองค์กรทำไว้ รายได้ทางการเกษตรชาวสวนลำใย ที่นำเม็ดเงินเข้าสู่จังหวัดจันทบุรีปีละ เก้าพันห้าร้อยล้านถึงหนึ่งหมื่นล้านบาทต้องหดหายไป
ที่มา https://www.nationtv.tv/main/content/378682654