Skip to main content
แถลงการณ์ประณาม หนังสือกรมการจัดหางาน แจ้งการยกเลิกโครงการให้ความช่วยเหลือคนต่างด้าวด้านสาธารณะสุข


เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ

แถลงการณ์ประณาม หนังสือกรมการจัดหางาน แจ้งการยกเลิกโครงการให้ความช่วยเหลือคนต่างด้าวด้านสาธารณะสุ

เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2564 อธิบดีกรมการจัดหางาน ลงนามบันทึกข้อความ ด่วนที่สุด เรื่อง  แจ้งการยกเลิกโครงการให้ความช่วยเหลือคนต่างด้าวด้านสาธารณะสุข ถึง ผู้อำนวยการสำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10  โดยมีเนื้อความสำคัญ กล่าวคือเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโควิด 19  ซึ่งรัฐได้ดำเนินการตรวจหาเชื้อเพื่อควบคุมโรคเชิงรุกในพื้นที่เสี่ยง โดยมีคำสั่งฉบับวันที่  25 มิถุนายน 2564  ต่อมาปรากฎว่าการแพร่ระบาดโควิด 19 มี แนวโน้มสูงขึ้นซึ่งเป็นผลมาจากการคัดกรองเชิงรุกเพื่อค้นหาและสกัดกั้นการระบาดแบบกลุ่มก้อน ปัจจุบันโรงพยาบาลประสบปัญหาด้านสาธารณะสุข เช่น  เตียงผู้ป่วย เครื่องช่วยหายใจและอุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่มีจำกัดไม่สามารถรองรับผู้ป่วยที่ตรวจพบรายใหม่ได้ ดังนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานจึงมีนโยบายให้ยกเลิกโครงการดังกล่าว

                 เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ มีความกังวลเป็นอย่างยิ่งต่อนโยบายการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติของกระทรวงแรงงานนับแต่มีการแพร่ระบาดระบาดของโรคระบาดโควิด 19 เมื่อปี 2563 ทำให้แรงงานข้ามชาติเกือบ 1 ล้านคน ต้องหลุดจากระบบที่เคยขึ้นทะเบียนเป็นแรงงานถูกกฎหมายของรัฐ การเยียวยาที่เข้าไม่ถึงและมีการเลือกปฏิบัติต่อแรงงานข้ามชาติอันเป็นการขัดต่อกฎหมายไทยและกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ กระทั่งการแพร่ระบาดของโรคที่ทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อทั้งประเทศรวมทั้งแรงงานข้ามชาติ มีอัตราที่สูงขึ้นโดยข้อมูลของกรมควบคุมโรคระบุว่า ตั้งแต่เดือนเมษายน ถึง 12 กรกฎาคม 2564 มีแรงงานข้ามชาติชาวเมียนมา กัมพูชาและลาว ติดเชื้อสะสมมากถึง 47,550 คน  แต่มาตรการของรัฐเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2564 คือการปิดแคมป์คนงานก่อสร้าง การเยียวยาที่ยังเน้นการเลือกปฏิบัติ ทำให้เกิดการระดมการให้ความช่วยเหลือกันเองของภาคเอกชน

                การลงนามในบันทึกข้อความอย่างเร่งด่วนของอธิบดีกรมการจัดหางาน ในวันที่ 5 กรกฎาคม 2564 เพื่อระงับโครงการให้ความช่วยเหลือคนต่างด้าวด้านสาธารณะสุขย่อมสะท้อนศักยภาพทำงานและความล้มเหลวของระดับผู้นำของกระทรวงแรงงาน สร้างความเหลื่อมล้ำของคนในสังคม และการเลือกปฏิบัติแล้ว และความล้มเหลวในครั้งนี้ยังอาจจะทำให้นโยบายการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไม่สามารถกระทำได้หากมีกลุ่มคนในสังคมถูกทิ้งไว้ข้างหลังอีกเป็นจำนวนมาก

จากสถานการณ์ข้างต้น เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติขอเรียกร้องให้รัฐบาลดังนี้

1.เร่งดำเนินการตรวจเชิงรุกในกลุ่มแรงงานข้ามชาติโดยเร็วที่สุด ให้ครอบคลุมมากที่สุด โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดสีแดงเข้ม 10 จังหวัด หรือสนับสนุนชุดตรวจแบบ Self-test ให้กับกลุ่มแรงงานข้ามชาติ

2.เร่งพัฒนาศักยภาพแกนนำหรืออาสาสมัครแรงงานข้ามชาติในชุมชน และสนับสนุนให้ชุมชนแรงงานข้ามชาติ องค์กรภาคประชาสังคม ดำเนินการ Home Isolation และ Community Isolation ร่วมกับโรงพยาบาลในพื้นที่ เพื่อดูแลผู้ที่มีความเสี่ยงสูง(PUI) และผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่มีอาการหรือมีอาการไม่รุนแรง(สีเขียว) เพื่อให้มีเตียงสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง(สีเหลือง สีแดง)

3.เร่งจัดหาวัคซีนเพื่อฉีดให้กับแรงงานข้ามชาติทุกคน ทั้งที่มีเอกสารและไม่มีเอกสาร ให้ครอบคลุมมากที่สุด เพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่

4.เร่งพัฒนาระบบการช่วยเหลือส่งต่อกรณีที่พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่มีอาการรุนแรง

5. กระทรวงแรงงานต้องติดตามและมีมาตรการให้นายจ้างนำแรงงานเข้าสู่ระบบประกันสังคมโดยเร็ว โดยให้สิทธิรักษาพยาบาลย้อนหลังให้แก่แรงงานที่ควรได้รับสิทธิประกันสังคม แต่นายจ้างไม่นำเข้าประกันสังคม สำหรับกรณีแรงงานข้ามชาติที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคมให้มีการตรวจสอบและประสานให้มีการจัดซื้อประกันสุขภาพต่อไป

                6. กระทรวงแรงงานควรแสดงความรับผิดชอบ ในการช่วยเยียวยาและจัดหาความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่กลุ่มแรงงานข้ามชาติ

                การหยุดตรวจหาเชื้อไม่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้ และจะไม่มีความปลอดภัยให้กับประชาชนคนใดหากทุก

คนไม่มีความปลอด

ด้วยความเชื่อมั่นในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ

14 กรกฎาคม 2564