Skip to main content

30 มิ.ย. 2560

ตาก-กม.แรงงานต่างด้าวฉบับใหม่มีผลบังคับส่งผลกระทบสถานประกอบการไม่กล้ารับคนเมียนมาทำงานและถูกลอยแพแล้วกว่า 400 คนสวนทางเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

เมื่อวันที่ 30 มิ.ย.60 ที่บริเวณชายแดนไทย-เมียนมา แรงงานต่างด้าว สัญชาติเมียนมา ประมาณ 400-500 คน ต้องเดินทางข้ามแม้น้ำเมยกลับไปยังจังหวัดเมียวดี ประเทศเมียนมาตรงข้ามอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก หลังจากที่นายจ้าง และผู้ประกอบการไม่กล้าจ้างแรงงานต่างด้าว ที่ผิดกฏหมาย และไม่สามารถนำแรงงานเมียนมา เข้ามาทำงานตรงกับอาชีพที่ระบุไว้ได้ หลังจากที่ประเทศไทยได้ออกพ.ร.ก.การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 ที่มีบทกำหนดโทษรุนแรงทำให้สถานประกอบเริ่มได้ผลกระทบ และทางการเมียนมาต้องแบกรับภาระการหลั่งไหลกลับไปของแรงงาน ที่ได้รับความเดือดร้อน โดยซื้อข้าวห่อไปเลี้ยงแรงงานที่ตกงานทั้งหมด

นอกจากนี้ ยังมีบรรดานายหน้าที่เคยส่งแรงงานต่างด้าว สัญชาติเมียนมา ก็ไม่รับแรงงานต่างด้าวอีกเกรงว่าจะถูกจับกุม และได้รับโทษที่รุนแรง

เจ้าหน้าที่เมียนมา ที่จังหวัดเมียวดี รายหนึ่งแจ้งว่า แรงงานเมียนมา ที่กลับไป ต่างบอกว่า ไม่ได้ไปก่ออาชญากรรม และกระทำผิดกฏหมายความมั่นคงของไทย ทำไมต้องมากำหนดโทษรุนแรง สำหรับเรื่องนี้ กำลังเป็นที่ถูกวิพากษ์จารณ์จากนายจ้างคนไทย และผู้ประกอบการที่ใช้แรงงานต่างด้าว  โดยการออกกฏหมายลักษณะเช่นนี้ ไม่สอดคล้องกับนโยบายส่งเสริมการค้า การลงทุน ของไทย และยังสวนทางกับนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตากด้วย

นาย จ่อ  อายุ 25 ปี แรงงานเมียนมา รายหนึ่งที่กลับไปยังจังหวัดเมียวดี  บอกว่า ต้องจ่ายเงินค่านายหน้าวิ่งหางานทำให้ ในราคา 3,000 บาท พอไปถึงโรงงาน นายจ้างไม่กล้ารับเพราะกลัวถูกจับ จึงกลับไปฝั่งเมียนมา เพื่อกลับบ้าน แต่ที่สำคัญไม่มีค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เงินหมดตัว เพราะจ่ายเงินให้นายหน้าไปหมดแล้ว

ล่าสุด กระทรวงแรงงานกำลังหามาตรการที่ใช้ผ่อนปรน ให้ใช้แรงงานต่างด้าวเป็นชั่วคราว ใน 3 กลุ่มแรงงานต่างด้าว คือกลุ่มแรงงานที่ประกอบการ ธุรกิจขนาดกลางและขนาดหย่อม SME กลุ่มแรงงานก่อสร้าง และกลุ่มคนรับใช้ในบ้านและครัวเรือน  โดยมีมาตรการชั่วคราวในการผ่อนผันคือ1.สามารถเปลี่ยนชื่อนายจ้างใหม่ได้ หากชื่อแรงงานไม่ตรงกับนายจ้าง2.ขยายการทำ MOU คือขยายระยะเวลาของการขออนุญาตทำงาน3.ไทยจะออกวีซ่าให้แรงงานที่มีพลาสปอร์ต และให้กลุ่มแรงงานที่มีพลาสปอร์ตสามารถทำงานได้ชั่วคราว

มาตรการผ่อนผันดังกล่าวนายกรัฐมนตรีมอบหมายให้นายวรานนท์ ปิติวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน เร่งไปศึกษาแนวทางแล้ว

ที่มา https://www.posttoday.com/social/local/500749