รายงานสถานการณ์โควิดในแรงงานข้ามชาติ
ระหว่างวันที่ 1 กันยายน – 15 ตุลาคม 2564
ข้อสรุป
- ผู้ติดเชื้อสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชาระหว่างวันที่ 1 กันยายน-15 ตุลาคม 2564 มีจำนวน 39,917 คน (เท่าที่เข้าถึงข้อมูล) คิดเป็นร้อยละ 7.16 ของจำนวนผู้ติดเชื้อทุกคนในประเทศไทยในช่วงเวลาเดียวกัน
- จังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อโควิดเป็นชาวเมียนมา ลาว กัมพูชามากที่สุด ได้แก่ สมุทรสาคร, สมุทรปราการ และกรุงเทพฯ
- ชาวเมียนมา ลาว และกัมพูชาที่เสียชีวิตจากโควิดระหว่างวันที่ 1 กันยายน-15 ตุลาคม 2564 มีจำนวน 146 ราย
- นับตั้งแต่ต้นปี ชาวเมียนมา ลาว และกัมพูชาได้รับวัคซีน (อย่างน้อย 1 เข็ม) จนถึงวันที่ 4 ตุลาคม 2564 เป็นจำนวนสะสม 725,972 คน
- มติคณะรัฐมนตรี 28 กันยายน 64 เปิดทางให้แรงงานข้ามชาติ 3 สัญชาติที่ไม่มีเอกสารถูกกฎหมายสามารถขอใบอนุญาตทำงานได้
- รัฐบาลขยายเวลาลงทะเบียนสำหรับแรงงานข้ามชาติตามมติ ครม. 29 ธันวาคม 63 ถึงวันที่ 13 กันยายน 2564
- แนวทางการนำเข้าแรงงานข้ามชาติตาม MOU ภายใต้สถานการณ์โควิดมีความชัดเจนมากขึ้น
- การบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติทั้งกลุ่มที่อยู่ในประเทศไทยอยู่แล้ว และกลุ่มที่จะนำเข้า เกิดขึ้นจากทั้งการขาดแคลนแรงงานที่ทำให้ภาคเอกชนเรียกร้องมาโดยตลอด และมาจากนโยบายเตรียมเปิดประเทศของรัฐบาล
- การลักลอบข้ามแดนยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ชาวเมียนมาและกัมพูชาเข้ามาเมืองไทย ส่วนชาวไทยจำนวนมากก็ลักลอบข้ามแดนไปทำงานให้กับเว็บพนันออนไลน์ในกัมพูชา
จำนวนผู้ติดเชื้อและเสียชีวิต
ตลอดเดือนกันยายน 2564 จากผู้ติดเชื้อทุกสัญชาติในประเทศไทยจำนวน 398,746 คน พบการรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา เท่าที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้[1] ดังตารางด้านล่าง
ตาราง: จำนวนประชากรสามสัญชาติที่ติดเชื้อโควิด และทางการไทยรายงานในเดือนกันยายน 2564
เมียนมา |
ลาว |
กัมพูชา |
รวม |
22,475 |
1,249 |
7,292 |
31,046 |
ส่วนข้อมูลที่รายงานระหว่างวันที่ 1-15 ตุลาคม จากผู้ติดเชื้อทุกสัญชาติในประเทศไทยจำนวน 158,715 คน พบการรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา ดังนี้
ตาราง: จำนวนประชากรสามสัญชาติที่ติดเชื้อโควิด และทางการไทยรายงานระหว่างวันที่ 1-15 ตุลาคม 2564[2]
เมียนมา |
ลาว |
กัมพูชา |
รวม |
5,908 |
356 |
2,607 |
8,871 |
สรุปได้ว่าระหว่างวันที่ 1 กันยายน-15 ตุลาคม 2564 จำนวนผู้ติดเชื้อสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชาคิดเป็นร้อยละ 7.16 ของจำนวนผู้ติดเชื้อทุกคนในประเทศไทย
ทั้งนี้ 10 จังหวัดที่พบผู้ติดเชื้อโควิดสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชามากที่สุดระหว่างวันที่ 1 กันยายน-15 ตุลาคม 2564 ได้แก่จังหวัดต่อไปนี้
ตาราง: สิบจังหวัดที่พบผู้ติดเชื้อโควิดสามสัญชาติมากที่สุด
จังหวัด |
จำนวนผู้ติดเชื้อ3สัญชาติ |
สมุทรสาคร |
5,925 |
สมุทรปราการ |
4,352 |
กรุงเทพมหานคร |
3,652 |
ชลบุรี |
2,723 |
ระยอง |
2,666 |
ราชบุรี |
2,016 |
กาญจนบุรี |
1,932 |
นนทบุรี |
1,636 |
ตาก |
1,402 |
ตราด |
1,392 |
ส่วนจำนวนผู้เสียชีวิตจากโควิดที่เป็นชาวเมียนมา ลาว และกัมพูชาในช่วงวันที่ 1 กันยายน – 15 ตุลาคม 2564 มีจำนวน 146 ราย ในเดือนกันยายน 2564 มีจำนวนดังนี้
ตาราง: จำนวนผู้เสียชีวิตจากโควิดในเดือนกันยายน 2564
เมียนมา |
ลาว |
กัมพูชา |
รวม |
จำนวนผู้เสียชีวิตทุกสัญชาติในไทย |
88 |
4 |
16 |
108 |
5,143 |
ส่วนผู้เสียชีวิตจากโควิดระหว่างวันที่ 1-15 ตุลาคม 2564 มีจำนวนดังนี้
ตาราง: จำนวนผู้เสียชีวิตจากโควิดระหว่างวันที่ 1-15 ตุลาคม 2564
เมียนมา |
ลาว |
กัมพูชา |
รวม |
จำนวนผู้เสียชีวิตทุกสัญชาติในไทย |
31 |
0 |
7 |
38 |
1,396 |
ในส่วนของการรักษา เนื่องจากสถานการณ์โควิดดีขึ้น ทางศูนย์แรกรับและส่งต่อ กระทรวงสาธารณสุข อาคารมินิบุตร จึงปิดการดำเนินการในวันที่ 30 กันยายน 2564 โดยในจำนวนผู้ป่วยที่ใช้บริการทั้งหมด 12,696 ราย เป็นชาวต่างชาติจำนวน 3,246 ราย[3]
สถานการณ์การฉีดวัคซีน
ในส่วนของจำนวนผู้ได้รับวัคซีน ตามข้อมูลระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ – 4 ตุลาคม 2564 มีชาวต่างชาติจำนวน 900,887 คน ที่ได้รับวัคซีนแล้วอย่างน้อย 1 เข็ม นับเป็น 18.4 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนประชากรต่างชาติในประเทศไทย โดยชาวเมียนมา กัมพูชา และลาวได้รับวัคซีนมากสุดในหมู่ประชากรต่างชาติตามลำดับ
ตาราง: จำนวนสะสมของประชากรสามสัญชาติที่ได้รับวัคซีนอย่างน้อยหนึ่งเข็ม
9 กันยายน |
21 กันยายน |
30 กันยายน |
4 ตุลาคม |
|
เมียนมา |
306,056 |
390,614 |
481,546 |
503,610 |
กัมพูชา |
81,303 |
105,525 |
135,297 |
141,589 |
ลาว |
43,063 |
60,167 |
78,129 |
80,773 |
จำนวนรวมสามสัญชาติ |
430,422 |
556,306 |
694,972 |
725,972 |
จำนวนรวมต่างชาติที่ได้รับวัคซีนทั้งหมด |
587,402 |
723,592 |
869,227 |
900,887 |
ในระดับนโยบาย ศบค. (ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019) มีมติเกี่ยวกับเป้าหมายในการฉีดวัคซีนภายในเดือนตุลาคม 2564 ว่าจะต้องครอบคลุมประชากรทั้งหมด ซึ่งรวมทั้งคนไทยและต่างชาติ อย่างน้อยร้อยละ 50 ทุกจังหวัด[4]และในร่างของแผนการจัดสรรวัคซีนในเดือนพฤศจิกายน 2564 จำนวนทั้งหมด 25 ล้านโดสนั้น รัฐบาลกำหนดให้กลุ่ม “ประชากรต่างด้าว” เป็นหนึ่งในเป้าหมาย ซึ่งจะได้รับวัคซีนสูตรผสม Sinovac และ AstraZeneca โดยกลุ่มประชากรต่างชาตินี้จะได้รับการจัดสรร 2 ล้านโดส คิดเป็นร้อยละ 8 ของวัคซีนทั้งหมดในเดือนพฤศจิกายน[5]
ส่วนในทางปฏิบัติ ช่องทางการได้รับวัคซีนของแรงงานข้ามชาติมีหลากหลาย ทั้งจากการจัดการของหน่วยงานรัฐเอง การร่วมมือของภาคประชาสังคม หรือแม้แต่การดำเนินการของผู้ประกอบการ นอกจากนี้แต่ละจังหวัดมีรูปแบบที่ต่างกันออกไป ตัวอย่างเช่น
- การจัดการของหน่วยงานรัฐส่วนกลาง
นอกจากเว็บไซต์ expatvac.consular.go.th แล้วยังมีแอพพลิเคชั่น “Vaccine บางซื่อ” ที่ชาวต่างชาติสามารถลงทะเบียนเพื่อฉีดวัคซีนได้
- ความร่วมมือของภาคประชาสังคม
ทางองค์กรภาคประชาสังคมประสานกับสภากาชาดไทยเพื่อให้บริการฉีดซิโนฟาร์มที่ได้รับการสนับสนุนจากสภากาชาดจีน เพื่อฉีดให้สำหรับประชากรข้ามชาติในช่วงเดือนตุลาคม
- ผู้ประกอบการเอกชนดำเนินการเอง
ในช่วงต้นเดือนกันยายนกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหารเปิดลงทะเบียนให้ลูกจ้างทั้งคนไทยและต่างชาติเพื่อรับวัคซีนที่ศูนย์บางซื่อ
ส่วนนายจ้างเรือประมงสมุทรสาครร่วมกับสมาคมการประมงสมุทรสาคร รวบรวมเงินส่วนตัวจัดซื้อวัคซีนซิโนฟาร์มให้ลูกเรือแรงงานข้ามชาติ 800 คนในสมุทรสาคร โดยเริ่มฉีดเข็มแรกตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2564[6]
- กรุงเทพฯ
เดือนตุลาคม แรงงานข้ามชาติที่มีประกันสังคมสามารถฉีดได้ในวันที่ 4-8,11,12,14 ตุลาคมที่ศูนย์ฉีด 4 ศูนย์ในกรุงเทพฯ ส่วนผู้ที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน ผู้มีบัตรสีชมพูลงทะเบียนกับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
- บ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
มีการเปิดวอล์คอินสำหรับแรงงานข้ามชาติที่มีเอกสารสามารถฉีดวัคซีนได้เลยในช่วง 27-28 กันยายน
- จังหวัดนนทบุรี
มีโครงการ Nont ASEAN จัดฉีดวัคซีนโควิดสำหรับชาวเมียนมา ลาว กัมพูชาที่ทำงานในจังหวัดนนทบุรี โดยฉีดที่ตลาดบางใหญ่ในวันที่ 20-22 กันยายน นอกจากนี้เทศบาลเมืองบางบัวทองยังมีการเชิญชวนแรงงานที่ถูกกฎหมายและผลตรวจ ATK เป็นลบเข้ารับวัคซีนได้จนถึง 17 กันยายน
- จังหวัดสมุทรสาคร
ผู้ว่าราชการรจังหวัดสมุทรสาครประกาศว่า จังหวัดมีโครงการ “สาครBOX” ซึ่งตั้งจุดวัคซีนให้แรงงานต่างชาติในจังหวัด 3 กลุ่มแรกที่ได้ฉีดก่อน คือ 1. แรงงานในโรงงานที่ทำ Factory Accommodation Isolation 2.แรงงานในแคมป์ก่อสร้าง และ 3. แรงงานที่เข้าร่วมในโครงการตลาดสดสุขใจไร้โควิด ส่วนแรงงานต่างชาติตามร้านขายของ ร้านอาหารและลูกจ้างในบ้านจะได้วัคซีนในภายหลัง[7] ทั้งนี้ในวันที่ 11-12 กันยายน มีแรงงานต่างชาติทั้ง 3 กลุ่มได้รับวัคซีนไปแล้ววันละประมาณ 600 คน[8]
นโยบายบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติ
นโยบายระดับจังหวัด
จังหวัดตากยังคงมีประกาศทำ Factory Isolation, Factorial Quarantine, Bubble and Seal, Community Isolation ในโรงงาน/สถานประกอบการที่พบผู้ติดเชื้อ รวมถึงบางชุมชน และประกาศยกเลิกเมื่อครบกำหนดเวลา หรือเมื่อปฏิบัติตามมาตรการไม่น้อยกว่า 28 วัน ตรวจโควิดแล้วไม่พบพนักงานติดเชื้อ
จังหวัดภูเก็ต อ้างอิงถึงเหตุผลทางเศรษฐกิจควบคู่ไปกับมาตรการควบคุมโรคในกลุ่มแรงงานข้ามชาติ โดยในเดือนกันยายนก็ยังมีคำสั่งห้ามเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามชาติ และห้ามแรงงานข้ามชาติเดินทางในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ยกเว้นการเคลื่อนย้ายและการเดินทางออกจากจังหวัดเพื่อการทำงานหรือการตรวจสุขภาพ หรือตามคำสั่งของทางราชการ ทั้งนี้มีเพิ่มเติมว่า การเดินทางและเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามชาติ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อพิจารณาให้แรงงานสามารถเดินทางเพื่อทำงานข้ามจังหวัดได้[9] และเนื่องจากพบการระบาดของโควิดจากกลุ่มคนที่ทำประมงไปสู่กลุ่มอื่น ทางจังหวัดภูเก็ตจึงออกมาตรการจำนวนมากเพื่อควบคุมโรค เช่น ให้เทียบท่าตามเวลา แรงงานต้องได้รับวัคซีนมาเป็นอย่างน้อย 14 วัน หรือหายจากอาการโควิดไม่เกิน 90 วัน มีจุดคัดกรอง จัดให้มีการตรวจหาเชื้อด้วยวิธี ATK จัดแยกพื้นที่ในบริเวณท่าเทียบ และเจ้าของท่าเทียบเรือต้องรายงานสถานการณ์ให้สำนักงานประมงทางไลน์ทุกวัน เป็นต้น[10]
การบริหารจัดการสถานะของแรงงานข้ามชาติ
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการบริหารจัดการการทำงานของแรงงานข้ามชาติ 3 สัญชาติ 2 กลุ่ม ได้แก่
- แรงงานข้ามชาติ 3 สัญชาติที่ดำเนินการขออนุญาตตามมติ 29 ธันวาคม 63 แต่กระบวนการยังไม่แล้วเสร็จ
- แรงงานข้ามชาติ 3 สัญชาติทุกกลุ่มที่ยังไม่มีสถานะและไม่ได้ขออนุญาตทำงานให้ถูกต้องตามกฎหมาย
ขยายระยะเวลาสำหรับแรงงานตามมติ ครม. 29 ธันวาคม 63
กลุ่มแรงงานตามมติ ครม. 29 ธ.ค. 63 ที่ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ นายจ้างหรือสถานประกอบการต้องนำแรงงานข้ามชาติกลุ่มยื่นขออนุญาตทำงาน โดยรัฐบาลขยายเวลาการยื่นคำขออนุญาตทำงานจากภายในวันที่ 16 มิถุนายน 64 เป็นภายในวันที่ 13 กันยายน 64 เพื่อให้สามารถอยู่ในประเทศไทยและทำงานได้ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2565 ทั้งนี้แรงงานจะได้รับใบอนุญาตทำงาน (บต. 39)
แต่หากแรงงานต้องการอยูในประเทศไทยถึง 28 กุมภาพันธ์ 2566 ต้องตรวจสุขภาพภายในวันที่ 18 ตุลาคม 2564 และปรับปรุงทะเบียนประวัติภายใน 31 มีนาคม 2565
มติ ครม. 28 กันยายน 64[11]
ตามมติ ครม. 28 กันยายน 64 แรงงานชาวเมียนมา ลาว และกัมพูชาที่อยู่ในประเทศไทยและทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาตสามารถดำเนินการยื่นคำขออนุญาตทำงานและจะได้รับอนุญาตทำงานถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 โดยให้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้
- นายจ้างแจ้งรายชื่อแรงงาน ยื่นคำขออนุญาตทำงานภายใน 30 วันหลังจากวันที่ประกาศมีผลบังคับใช้
- ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2565 ให้แรงงานข้ามชาติขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนหรือประกันสุขภาพ เข้ารับการตรวจสุขภาพ และดำเนินการจัดเก็บอัตลักษณ์บุคคล
- ดำเนินการลงประทับตราวีซ่าให้แล้วเสร็จภายใน 1 สิงหาคม 2565 ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถอยู่ในประเทศไทยได้หลังจากนั้น
- ได้รับอนุญาตทำงานถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566
- ผู้ที่ไม่มีหนังสือเดินทาง หรือหนังสือเดินทางหมดอายุให้ดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 1 สิงหาคม 2565
ในการดำเนินนโยบาย กระทรวงแรงงานเองมีหน้าที่ในการตรวจสถานประกอบการต่างๆ เพื่อให้คำแนะนำทางสาธารณสุข โดยเริ่มจากการเปิดให้นายจ้างหรือสถานประกอบการกรอกแบบสำรวจภายในวันที่ 11 ตุลาคม ก่อนลงพื้นที่ระหว่างวันที่ 14 ตุลาคม – 12 พฤศจิกายน 2564 หากพบแรงงานที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย เจ้าหน้าที่จะถ่ายรูปพร้อมทำประวัติและให้นายจ้างกรอกคำขออนุญาต นัดหมายให้นายจ้างหรือสถานประกอบการดำเนินเรื่องตามขั้นตอนต่อไป
นโยบายนี้มาจากข้อเสนอของกระทรวงแรงงาน เป้าหมายเพื่อควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด เนื่องจากการลงพื้นที่ของหน่วยงานควบคุมโรคพบว่าแรงงานข้ามชาติทำงานในกรุงเทพมหานคร ปริมณฑลและจังหวัดที่เป็นแหล่งอุตสาหกรรมอย่างหนาแน่น โดยแผนเรื่องการจัดระบบการขึ้นทะเบียนแรงงานและจ้างงานให้ถูกกฎหมายอยู่ในส่วนของการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคภายในประเทศ ซึ่งทางรัฐบาลกำหนดให้กระทรวงแรงงานและกระทรวงมหาดไทยดำเนินการระหว่างตุลาคม 2564 ถึงกันยายน 2565[12]
การพิจารณาการนำเข้าแรงงานตาม MOU
นอกจากการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติที่อยู่ในประเทศไทยเพื่อลดการจ้างแรงงานผิดกฎหมาย การจัดระบบเพื่อรับแรงงานข้ามชาติกลับเข้าประเทศ ยังเป็นหนึ่งในมาตรการที่รัฐบาลกำลังพิจารณาเพื่อเตรียมเปิดประเทศ
คณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (คบต.)[13] ได้พิจารณาแนวทางการนำเข้าแรงงานข้ามชาติตาม MOU ภายใต้สถานการณ์โควิด เป้าหมายคือการดำเนินการเรื่องแรงงานข้ามชาติบนพื้นฐานของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและความมั่นคงทางสุขภาพของประชาชน[14] ซึ่งผลจากการพิจารณาดังกล่าวมาจากการสำรวจความต้องการแรงงานข้ามชาติจากผู้ประกอบการ
ทั้งนี้ทางรัฐบาลเตรียมแบ่งกลุ่มแรงงานข้ามชาติที่ได้รับอนุญาตเป็น 3 กลุ่ม[15]
- กลุ่มสีเขียว คือกลุ่มที่ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มเป็นระยะเวลามากกว่า 1 เดือน กลุ่มนี้จะได้เข้ามาทำงานเป็นกลุ่มแรก โดยต้องมีวัคซีนพาสปอร์ตด้วย
- กลุ่มสีเหลือง คือกลุ่มที่ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มเป็นระยะเวลาไม่ถึง 1 เดือน
- กลุ่มสีแดง คือกลุ่มที่ได้รับวัคซีนเพียง 1 เข็ม หรือ ยังไม่ได้รับวัคซีน
ส่วนขั้นตอนการนำเข้าแรงงานนั้น ได้แก่
- สถานประกอบการต้องยื่นแบบคำร้องให้กับกระทรวงแรงงาน
- ประเทศต้นทางต้องจัดทำบัญชีรายชื่อแรงงานให้นายจ้างไทย
- สถานประกอบการยื่นคำขออนุญาตทำงานแทนแรงงาน และชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงาน 2 ปี
- แรงงานเมื่อเข้าประเทศไทยต้องกักตัวและตรวจหาเชื้อโควิด โดยสถานประกอบการเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ค่าสถานที่กักตัว ค่าตรวจโควิด ค่ารักษากรณีที่แรงงานติดเชื้อโควิด
- หากแรงงานเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 จะได้รับวัคซีนหลังครบกำหนดการกักตัว แต่หากไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 นายจ้างต้องจัดหาวัคซีนทางเลือกให้
นอกจากนี้ คบต.ยังพิจารณาขยายเวลาดำเนินการของศูนย์จัดเก็บข้อมูลแรงงานเมียนมาชั่วคราว (TDCC) ณ จังหวัดสมุทรสาครเพิ่มอีก 1 ปี ซึ่งศูนย์ TDCC เป็นศูนย์ที่ให้แรงงานเมียนมาสามารถทำเอกสารประจำตัวโดยไม่ต้องเดินทางกลับประเทศ ทั้งนี้ ศูนย์ฯจะเปิดได้จริงหลังจากคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดสมุทรสาครเห็นชอบ[16]
สถานการณ์ความต้องการแรงงาน
ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคธุรกิจบริการและอุตสาหกรรมเกิดขึ้นเนื่องจากประเทศไทยชะลอการนำเข้าแรงงานข้ามชาติตั้งแต่มีนาคม 2563 ในช่วงเดือนที่ผ่านมาจึงมีข้อเสนอในการแก้ปัญหาหลายๆทาง หอการค้าผลักดันให้กระทรวงแรงงานพิจารณาขึ้นทะเบียนแรงงานข้ามชาติที่บัตรหมดอายุในประเทศไทยประมาณ300,000-400,000 คน เพื่อให้แรงงานอยู่ในระบบและสามารถรับวัคซีนได้ [17]
ส่วนกระทรวงแรงงานมีนโยบายเพิ่มเติม คือ การสนับสนุนให้ผู้ประกอบการจ้างแรงงานไทยทำงานทดแทนแรงงานข้ามชาติในส่วนที่ขาดแคลน โดยฉพาะกิจการเกษตรและปศุสัตว์ กิจการต่อเนื่องการเกษตร กิจการก่อสร้าง และโรงงานอุตสาหกรรม [18]
สถานการณ์การข้ามพรมแดน
ตลอดเดือนกันยายนถึงวันที่ 15 ตุลาคม 2564 ทางการไทยจับผู้ลักลอบข้ามแดนเข้าประเทศไทย ได้เป็นจำนวนตามตารางด้านล่างนี้
ตาราง: จำนวนผู้ลักลอบข้ามแดนเข้าไทยที่ถูกจับกุมแยกตามสัญชาติ
วันที่ |
เมียนมา |
ลาว |
กัมพูชา |
มาเลเซีย |
ไทย |
อื่นๆ |
1-30 กันยายน 2564 |
1,194 |
719 |
3,582 |
2 |
165 |
43 |
1-15 ตุลาคม 2564 |
1,430 |
300 |
1,183 |
2 |
103 |
23 |
ชาวเมียนมา
ชาวเมียนมาที่ลักลอบข้ามพรมแดนมา มีทั้งเข้ามาจากเมียนมาเพื่อทำงานในไทยหรือมาเลเซีย และจากไทยเตรียมกลับเข้าเมียนมา
วันที่ |
พื้นที่ที่พบ |
จำนวน คน |
ผู้นำพา/นายหน้า |
ต้นทาง |
ปลายทาง |
ค่าใช้จ่ายต่อหัว |
11 ก.ย. |
อ.สะเดา จ.สงขลา |
14 (ติดโควิด 9 คน)[19] |
(ไม่ทราบ) |
(ไม่ทราบ) |
มาเลเซีย |
(ไม่ทราบ) |
12 ก.ย.[20] |
อ.ไทรโยค และ อ.สังขละบุรี |
4 (ชาย 1 หญิง 3) |
พบผู้นำพา 1 คนพร้อมรถ 1 คัน |
ทวาย, พะโค, เมาะละแหม่ง |
นครปฐม |
(ไม่ทราบ) |
12 ก.ย.[21] |
แม่สอด |
23 (ชาวโรฮิงญาทั้งหมด) |
นายหน้าชาวเมียนมา |
ชายแดนฝั่งเมียนมา |
มาเลเซีย |
(ไม่ทราบ) |
14 ก.ย.[22] |
อ.ไทรโยค |
11 (ชาย 8 หญิง 3) อายุ 19-38 ปี |
ผู้นำพาชาวเมียนมาและชาวไทย |
มัณฑะเลย์ |
นนทบุรี |
18,000-20,000 บาท |
19 ก.ย. 64[23] |
ถนนซุปเปอร์ไฮเวย์ เชียงใหม่-ลำปาง |
39 |
มากับรถทัวร์ของบริษัท ไทยศรีรามขนส่ง |
เข้ามาทาง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ |
กรุงเทพฯ |
ยังไม่ทราบ (คาดว่า 5,000 บาท) |
20 ก.ย.[24] |
อ.ไทรโยค |
47 (ชาย 28 หญิง 19) |
ผู้นำพาชาวเมียนมา 4 คน |
ทวาย และ พะโค |
กรุงเทพฯ และนครปม |
14,000-25,000 บาท |
23 ก.ย.[25] |
อ.เมืองกาญจนบุรี |
14 |
(ไม่ทราบ) |
ข้ามมาจากทวาย |
สุราษฎร์ธานี, สงขลา, พังงา |
15,000-22,500 บาท |
25 ก.ย.[26] |
อ.เมืองกาญจนบุรี |
2 (กลุ่มเดียวกับวันที่ 23 ก.ย.) |
(ไม่ทราบ) |
ข้ามมาจากทวาย |
หาดใหญ่ |
26,000 บาท |
25 ก.ย.[27] |
อ.เมืองกาญจนบุรี |
9 (ชาย 5 หญิง 4) |
(ไม่ทราบ) |
ทวาย, รัฐยะไข่ และเมาะลำไย |
รังสิต ปทุมธานี, บางใหญ่ นนทบุรี, วังน้อย อยุธยา, มหาชัย สมุทรสาคร |
18,000 บาท |
26 ก.ย.[28] |
อ.สะเดา จ.สงขลา |
17 (จับกุม 10 ราย) |
(ไม่ทราบ) |
รัฐยะไข่ จากนั้นพักที่ อ.หาดใหญ่ |
มาเลเซีย |
20,000-30,000 บาท |
26 ก.ย. [29] |
อ.เมืองกาญจนบุรี |
12 (ชาย 5 หญิง 7) |
ผู้นำพาชาวเมียนมา |
เมาะละแหม่ง, พะโค, เมียวดี, ย่างกุ้ง |
กรุงเทพฯ |
16,000 บาท |
27 ก.ย.[30] |
อ.เมืองกาญจนบุรี |
22 (จับกุม 13 ราย ชาย 7 หญิง 6) |
ผู้นำพาชาวเมียนมา |
เมาะลำไย และ ย่างกุ้ง |
มหาชัย จ.สมุทรสาคร |
20,000 บาท |
3 ต.ค.[31] |
อ.เมืองประจวบคีรีขันธ์ |
11 (หญิง 8 ชาย 3) อายุ 19-25 ปี |
ผู้นำพาชาวไทย ชาวอำเภอทับสะแก |
ฝั่งเมียนมา |
โรงงานปลากระป๋องที่ จ |
(ไม่ทราบ แต่ผู้นำพาได้รับค่าจ้างหัวละ 500 บาท) |
6 ต.ค.[32] |
อ.เมืองประจวบคีรีขันธ์ |
58 (ชาย 19 หญิง 39) อายุ 18-30 ปี |
ผู้นำพาชาวไทย 2 คน |
ฝั่งเมียนมา |
จ.สมุทรสาคร และ จ.ประจวบคีรีขันธ์ |
(ไม่ทราบ) |
9 ต.ค. [33] |
อ.เมืองประจวบคีรีขันธ์ |
21 (ชาย 8 หญิง 13) |
(ไม่ทราบ) |
ข้ามมาจากบ้านมูด่อง เมืองมะริด |
โรงงานในประจวบคีรีขันธ์ |
(ไม่ทราบ) |
10 ต.ค.[34] |
อ.สังขละบุรี |
8 (ชาย 3 หญิง 5) |
ผู้นำพาชาวไทย และมีนายหน้าที่พญาตองซู |
ข้ามมาจากพญาตองซู |
สมุทรสาคร |
25,000-28,000 บาท |
14 ต.ค.[35] |
อ.สังขละบุรี |
7 (ชาย 3 หญิง 3 เด็ก 1) |
คนขับรถชาวไทย |
จากอำเภอทองผาภูมิเพื่อส่งที่ด่านเจดีย์สามองค์ |
มะละแหม่ง ประเทศเมียนมา |
5,000 บาท |
ชาวกัมพูชา
ชาวกัมพูชาที่ข้ามแดนมาประเทศไทยที่ปรากฏในข่าวมีดังนี้
วันที่ |
จำนวนคน |
ต้นทาง |
ปลายทาง |
ค่าใช้จ่ายต่อหัว |
รายละเอียดเพิ่มเติม |
3 ก.ย. 64[36] |
8 (ชาย 6 หญิง 2) |
กัมพูชา |
(ไม่ทราบ) |
(ไม่ทราบ) |
พบที่อรัญประเทศ ไม่มีเอกสารถูกต้อง จึงผลักดันกลับกัมพูชา |
4 ก.ย. 64[37] |
48 (ชาย 18 หญิง 23 เด็ก 7) |
กัมพูชา มีผู้นำทางมาส่งที่ริมคลองกั้นชายแดน |
อ.โป่งน้ำร้อน และ อ.สอยดาว |
4,000 - 5,000 บาท |
เพื่อเข้ามาเป็นแรงงานเก็บลำไย โดยทั้งหมดฉีดวัคซีนกันมาแล้วจากกัมพูชา |
2 ต.ค. 64[38] |
20 |
ข้ามมาจากด่านที่สระแก้ว ผ่าน อ.เสิงสาง จ.นครราชสีมา |
ตลาดไท ปทุมธานี |
(ไม่ทราบ) |
ผู้นำพาเคยถูกจับกุมข้อหาลักลอบนำพาแรงงานในช่วงต้นเดือนกันยายนและถูกประกันตัว |
คนไทยข้ามแดนไปกัมพูชา
คนไทยจำนวนมากลักลอบข้ามแดนไปทำงานเป็นแอดมินให้เว็บพนันหรือคาสิโนออนไลน์ในประเทศกัมพูชา โดยทุกกรณีนั้นบริษัทเว็บพนันออนไลน์เป็นผู้ดำเนินการและออกค่าใช้จ่ายในการนำพาคนไทยกลุ่มนี้ข้ามแดน
วันที่ |
จำนวนคนไทย |
รายละเอียดเพิ่มเติม |
11 ก.ย. |
2 คน (หญิงทั้งหมด) ชาวกรุงเทพฯ |
เพื่อทำงานเป็นแอดมินให้เว็บพนันออนไลน์ในกรุงพนมเปญ |
12 ก.ย.[39] |
6 คน (ชาย 3 หญิง 3) พร้อมชายชาวจีนอีก 2 คน |
เพื่อทำงานเป็นแอดมินให้เว็บพนันออนไลน์ในกรุงพนมเปญ |
16 ก.ย. [40] |
3 คน (หญิงทั้งหมด) |
เพื่อทำงานเป็นแอดมินให้เว็บพนันออนไลน์ในปอยเปต
ทางการไทยร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ฝั่งกัมพูชาให้สกัดจับกุมที่ อ.มาลัย จ.บันเตียเมียนเจยฯ และนำตัวกลับมา |
28 ก.ย.[41] |
26 คน ( ชาย 14 หญิง12) |
เพื่อทำงานบ่อนออนไลน์ฝั่งกัมพูชา |
12 ต.ค.[42] |
7 คน (ชาย 2 หญิง 5) พร้อมกับหญิงชาวพม่าอีก 1 คน |
เพื่อทำงานบ่อนคาสิโนออนไลน์ |
12 ต.ค.[43] |
9 คน (ชาย 6 หญิง 3) |
เพื่อทำงานบ่อนคาสิโนออนไลน์ |
14 ต.ค. [44] |
8 (ชาย 4 หญิง 4) |
เพื่อทำงานเป็นแอดมินกาสิโนออนไลน์
เดินทางมาจากสระแก้ว เชียงราย เลย กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ สระบุรี และกรุงเทพฯ |
ประเทศต้นทาง
ความร่วมมือระหว่างไทยและประเทศต้นทาง
ประเทศเมียนมา
ในวันที่ 14 ตุลาคม อธิบดีกรมการจัดหางานของไทยประชุมร่วมกับอธิบดีกรมแรงงาน กระทรวงแรงงานของเมียนมา พร้อมด้วยทูตแรงงานเมียนมาประจำประเทศไทย โดยที่ประชุมหารือ 2 เรื่องหลัก
- ประเด็นการจัดตั้งศูนย์ออกเอกสารรับรองบุคคล (CI) ของทางการเมียนมา ซึ่งจะมีจำนวน 5 แห่ง ในสมุทรสาคร, สมุทรปราการ, ชลบุรี, เชียงใหม่ และระนอง ซึ่งคาดว่าจะเปิดในเดือนพฤศจิกายน
- ประเด็นเรื่องการนำแรงงานเมียนมาเข้ามาทำงานตาม MOU ในช่วงสถานการณ์การระบาดของโควิด
ประเทศลาว
สถานทูต สปป.ลาวประจำประเทศไทยร่วมกับกรุงเทพมหานครและโครงการจิตอาสารักษาโควิด-19 เพื่อมิตรภาพลาว-ไทย ในการเชิญชวนพลเมืองลาวในกรุงเทพฯ รับวัคซีน (เข็มที่ 1 ซิโนแวค และเข็มที่ 2 แอสตร้าเซเนกา) โดยเปิดลงทะเบียนในวันที่ 7-17 ตุลาคม และฉีดวัคซีนในวันที่ 26-28 ตุลาคมที่ศูนย์ฉีดวัคซีนเอสซีจีบางซื่อ โดยทางสถานทูตพร้อมอำนวยความสะดวกในการออกเอกสารรับรองความเป็นพลเมืองลาวในกรณีที่หนังสือเดินทางหรือบัตรสีชมพูหาย
ประเทศกัมพูชา
อัครราชทูตที่ปรึกษาราชอาณาจักรกัมพูชา ประจำประเทศไทย และ ทูตแรงงานกัมพูชา พบกับผู้อำนวยการกองเอเชียตะวันออก 2 กรมเอเชียตะวันออก กระทรวงการต่างประเทศของไทย ในวันที่ 27 กันยายน 2564 เพื่อพูดคุยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศโดยเฉพาะเรื่องการความเป็นอยู่ของแรงงานขาวกัมพูชาในไทย[45]
การทำงานของประเทศต้นทางเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติ
ประเทศเมียนมา
สถานทูตเมียนมาประจำประเทศไทยจัดเที่ยวบินพิเศษ Rescue flight โดยแต่เดิมสถานทูตเมียนมาจัดเที่ยวบินทุกวันอาทิตย์ แต่ตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคมเป็นต้นมา ทางการเมียนมาได้เพิ่มเที่ยวบินเป็นสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ทุกวันพุธและวันอาทิตย์ [46]
ทั้งนี้ ในช่วงเดือนกันยายนถึง 20 ตุลาคมที่ผ่านมา มีเที่ยวบินที่ส่งคนกลับประเทศเมียนมาดังต่อไปนี้
เที่ยวบินพิเศษครั้งที่ |
วันที่ |
จำนวนคนเมียนมา |
37 |
8 กันยายน 2564 |
138 |
38 |
15 กันยายน 2564 |
107 |
39 |
22 กันยายน 2564 |
148 |
40 |
29 กันยายน 2564 |
124 |
41 |
6 ตุลาคม 2564 |
109 |
42 |
10 ตุลาคม 2564 |
130 |
43 |
13 ตุลาคม 2564 |
120 |
44 |
17 ตุลาคม 2564 |
85 |
45 |
20 ตุลาคม 2564 |
118 |
อย่างไรก็ดี ชาวเมียนมาพบปัญหาในการติดต่อกับสถานทูต และมีข้อวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่องของค่าใช้จ่าย
[1] รายงาน COVID-19 ประจำวัน ข้อมูลประจำประเทศไทย เข้าถึงได้ที่ https://data.go.th/dataset/covid-19-daily
[2] ข้อมูลไม่สมบูรณ์ ในข้อมูลไม่ได้ระบุสัญชาติของผู้ติดเชื้อมากกว่า 11,000 คน
[3] สรุปผลการประชุมคณะอนุกรรมการด้านการรักษาฯ ครั้งที่ 19/2564 กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
[4] มติที่ประชุม คณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด19) ครั้งที่ 15/2564 วันที่ 27 กันยายน 2564
[5] (ร่าง) การจัดสรรวัคซีนจำนวน 25 ล้านโดส แยกตามกลุ่มเป้าหมาย เดือนพฤศจิกายน 2564 ข้อมูล ณ วันที่ 14 ตุลาคม 2564
[6] http://www.sakhononline.com/news/2017/?p=22802
[7] https://www.thebangkokinsight.com/news/politics-general/covid-19/708241/
[8] https://news.ch7.com/detail/514475 และ https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2934359
[9] คำสั่งจังหวัดภูเก็ตที่ ๕๘๙๗/๒๕๖๔ เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติม มาตรการควบคุมการเดินทางและเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าวในเขตพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ลงวันที่ 28 กันยายน 2564
[10] คำสั่งจังหวัดภูเก็ตที่ ๕๕๑๙/๒๕๖๔ เรื่อง มาตรการควบคุมท่าเทียบเรือประมง เรือประมง แรงงานในเรือประมงในเขตพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ลงวันที่ 16 กันยายน 2564
[11] https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/37/iid/44756
https://www.bangkokbiznews.com/news/962600
https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/37/iid/44756
[12] แผนการรองรับการเปิดประเทศ และการระบาดโควิด 19 ปี 2565 (ที่ประชุม ศบค. 14 กันยายน 2564)
[13] คบต. เป็นการร่วมมือระหว่างกระทรวงแรงงาน สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กรมการปกครอง สาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
[14] https://www.thaipost.net/main/detail/116729
[15] https://www.doe.go.th/prd/main/news/param/site/1/cat/7/sub/0/pull/detail/view/detail/object_id/50603
[16] https://www.thaipost.net/main/detail/116729
[17] https://www.prachachat.net/economy/news-771255
[18] https://www.prachachat.net/csr-hr/news-764064
[19] https://www.bangkokpost.com/thailand/general/2182255/officials-quarantined-after-detained-illegal-migrants-found-infected
[20] https://www.matichon.co.th/region/news_2935727
[21] https://today.line.me/th/v2/article/reD57k?utm_source=lineshare
[22] https://www.bangkokpost.com/thailand/general/2182219/illegal-border-crossers-caught-in-sai-yok
[23] https://www.thairath.co.th/news/local/north/2197998
[24] https://www.bangkokpost.com/thailand/general/2184751/more-illegal-myanmar-border-crossers-arrested
[25] https://www.bangkokpost.com/thailand/general/2186555
[26] https://www.bangkokpost.com/thailand/general/2187571/11-more-myanmar-border-crossers-caught
[27] https://www.bangkokpost.com/thailand/general/2187571/11-more-myanmar-border-crossers-caught
[28] https://mgronline.com/south/detail/9640000095292
[29] https://mgronline.com/local/detail/9640000095411
[30] https://www.bangkokpost.com/thailand/general/2188915/job-seekers-arrested-for-illegal-entry
[31] https://mgronline.com/local/detail/9640000098004
[32] https://mgronline.com/local/detail/9640000098995
[33] https://www.thairath.co.th/news/local/central/2215307
[34] https://www.bangkokpost.com/thailand/general/2195547/myanmar-job-seekers-arrested-for-illegal-entry
[35] https://www.bugaboo.tv/news/582364
[36] https://www.77kaoded.com/news/thanapat/2165842
[37] https://www.nationtv.tv/news/378837758
[38] https://www.bangkokpost.com/thailand/general/2191335/thai-duo-held-for-smuggling-cambodian-workers
[39] https://www.matichon.co.th/region/news_2935153
[40] https://www.naewna.com/local/602485
[41] https://www.banmuang.co.th/news/region/252155
[42] https://www.77kaoded.com/news/thanapat/2181344
[43] https://www.77kaoded.com/news/thanapat/2181344
[44] https://www.thaich8.com/news_detail/101967
[45] https://www.facebook.com/515427841947524/photos/a.516615628495412/1997031080453852/
[46] https://www.facebook.com/Myanmar-Embassy-Bangkok-100627225082545/
Attachment | Size |
---|---|
รายงาน สถานการณ์ โควิด แรงงานข้ามชาติ (704.87 KB) | 704.87 KB |