Skip to main content
ข้อหารือและข้อเสนอต่อแนวทางการจ้างแรงงานต่างด้าวในสถานการณ์โควิด 

 

  

 หนังสือเลขที่ 0201/2022 

26 มกราคม 2565 

เรื่อง ข้อหารือและข้อเสนอต่อแนวทางการจ้างแรงงานต่างด้าวในสถานการณ์โควิด 

เรียน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน 

นับตั้งแต่เกิดการระบาดของโรคโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อการจ้างแรงงานข้ามชาติค่อนข้างมาก ตั้งแต่ผลกระทบจากมาตรการการควบคุมโรคที่มีการปิดการดำเนินการกิจการบางส่วนเป็นการชั่วคราวตั้งแต่ปี  2563 ซึ่งส่งผลให้แรงงานข้ามชาติจำนวนมากไม่มีงานทำ ขาดรายได้ และทำให้เกิดการหมุนเวียนแรงงานข้าม ชาติเพิ่มมากขึ้น การปิดชายแดนที่ทำให้ไม่สามารถดำเนินการนำเข้า หรือเดินทางเข้าออกของแรงงานข้ามชาติ ได้ซึ่งมีผลกระทบทั้งต่อการจัดการการความต้องการแรงงานข้ามมชาติ และการจัดทำเอกสารประจำตัวของ แรงงานข้ามชาติในกรณีที่เอกสารประจำตัวกำลังจะหมดอายุ ทั้งในเรื่องการพบแรงงานข้ามชาติติดเชื้อและ เป็นผู้ป่วยโรคไวรัสโควิด-19 เพิ่มมากขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2564 เป็นต้นมา ส่งผลให้มีผลกระทบต่อการทำงานและ การจ้างงานแรงงานข้ามชาติอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้รัฐบาลมีมาตราการผ่อนผันการดำเนินการต่าง ๆ ในการต่อ ใบอนุญาตทำงานและการเปิดจดทะเบียนแรงงานข้ามชาติเป็นระยะ  

อย่างไรก็ตามจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 อย่างต่อเนื่องตลอดปี 2564 ทำให้ปัญหา การบริหารจัดการยังเกิดผลกระทบต่อเนื่อง ยังพบว่ามีประเด็นปัญหา ดังนี้ 

1. นายจ้างและแรงงานต่างด้าวที่ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 29 ธันวาคม 2563 แต่ไม่สามาถ ตรวจหาเชื้อโควิดและตรวจโรคได้ทันตามแนวทางตามมติคณะรัฐมนตรี เนื่องจากสถานพยาบาลไม่เปิด ดำเนินการตรวจให้แก่แรงงานต่างด้าวเนื่องจากผลกระทบของการระบาดของโรคโควิด-19 อาจจะ กลายเป็นผู้ที่จ้างคนต่างด้าวอย่างไม่ถูกต้อง ซึ่งคาดการณ์ว่ามีมากถึง 80,000 คน 

2. แรงงานข้ามชาติกลุ่มนำเข้าตามระบบ MoU ที่ใบอนุญาตทำงานครบ 4 ปีตั้งแต่ 1 มกราคม 2565 เป็นต้น มา ซึ่งเป็นกลุ่มที่อยู่นอกเหนือการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2563 จึงไม่ สามารถดำเนินการต่อใบอนุญาตทำงานในประเทศต่อได้ต้องเดินทางกลับประเทศต้นทาง และนำเข้ามา ใหม่ แต่สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 และการดำเนินการนำเข้าตาม MoU ในปัจจุบันยังไม่ สามารถดำเนินการได้เต็มที่ ทำให้แรงงานกลุ่มดังกล่าวยังไม่มีแนวทางการดำเนินการและกลายเป็นแรงงาน ผิดกฎหมาย

3. ความต้องการจ้างแรงงานข้ามชาติในปัจจุบันประมาณการณ์ว่ามีมากกว่า 1,000,000 คน แต่กระบวนการ ในการนำเข้าแรงงาน MoU เข้ามาทำงานยังเป็นไปได้ล่าช้า และมีขั้นตอน รวมถึงค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นอาจจะ ไม่สอดคล้องต่อการจัดการความต้องการแรงงานในประเทศ 

4. การดำเนินการจัดทำเอกสารแทนหนังสือเดินทางของแรงงานข้ามชาติในปัจจุบัน แม้ประเทศต้นทาง เช่น  ประเทศพม่าจะได้เข้ามาดำเนินการจัดตั้งศูนย์ดำเนินการออกเอกสารประจำตัว แต่ยังพบปัญหาในเรื่องการ เดินทางไปดำเนินการในบางพื้นที่ที่ยังมีมาตรการห้ามไม่ให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามชาติ ทำให้ยังไม่ สามารถดำเนินการได้อย่างเต็มที่ ขณะเดียวกันยังพบปัญหาเรื่องการไม่มีมาตรการกำหนดค่าใช้จ่ายในการ ดำเนินการ ไม่ว่าจะเป็นค่าตรวจโควิด ซึ่งยังมีค่าใช้จ่ายที่สูง และค่าบริการดำเนินการที่ไม่มีการกำหนด ค่าบริการที่เรียกเก็บได้ รวมทั้งยังไม่มีมาตรการการดำเนินการของเอกสารรับรองตัวบุคคล (CI) ให้แก่ แรงงานข้ามชาติจากพม่าที่ไม่เคยมีเอกสารรับรองตัวบุคคลมาก่อน ทำให้ยังมีแรงงานบางส่วนที่ไม่สามารถ จัดทำเอกสารประจำตัวได้ 

เพื่อให้เกิดการดำเนินการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติอย่างเป็นระบบ และสอดคล้องกับความ ต้องการแรงงานของภาคธุรกิจและผู้ประกอบของไทย นโยบายการจัดการแรงงานข้ามชาติ ควรวางอยู่บน หลักการการป้องกันไม่ให้แรงงานข้ามชาติที่ทำงานอยู่ในปัจจุบันหลุดจากระบบการจ้างงาน นำแรงงานข้าม ชาติที่อยุ่นอกระบบการจ้างงานเข้าสู่ระบบอย่างถูกต้อง และทำให้เกิดการนำเข้าแรงงานอย่างเป็นระบบอย่างมี 

ประสิทธิภาพ จึงมีข้อเสนอดังนี้  

1.กระทรวงแรงงานควรขยายระยะเวลาในการตวจหาเชื้อโควิด 19 และตรวจโรคต้องห้ามร้ายแรงออกไปจนถึง วันที่ 31 มีนาคม 2565 หรือตามสถานการณ์การระบาดขอโรคโควิดที่เกิดขึ้นและความพร้อมของ สถานพยาบาลที่รับตรวจโรคให้แก่แรงงานข้ามชาติ เพื่อป้องกันไม่ให้แรงงานข้ามชาติที่ได้ดำเนินการตามมติ คณะรัฐมนตรีดังกล่าว หลุดจากระบบและกลายเป็นแรงงานผิดกฎหมาย 

2.กระทรวงแรงงานควรกำหนดนโยบายเปิดให้แรงงานข้ามชาติที่นำเข้าตามระบบ MoU ซึ่งทำงานครบ 4 ปี  ตั้งแต่ 1 มกราคม -30 มิถุนายน 2565 สามารถยื่นขอต่อใบอนุญาตทำงานและต่อวีซ่าในประเทศไทยได้เป็น การชั่วคราวอย่างน้อย 2 ปี เนื่องจากยังไม่สามารถนำเข้าแรงงานตาม MoU ได้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการ ชะงักกันในการจ้างงานและการผลิต  

3.ดำเนินการเจรจากับประเทศต้นทางในการอำนวยความสะดวกในการจัดทำเอกสารหนังสือเดินทางหรือ เอกสารแทนหนังสือเดินทางในประเทศไทย โดยครอบคลุมทั้งคนที่เอกสารหมดอายุ และยังไม่มีเอกสาร หนังสือเดินทาง  

4. หารือกับศบค. เรื่องการกำหนดมาตรการผ่อนคลายการเดินทางข้ามพื้นที่จังหวัดของแรงงานข้ามชาติ โดย เปลี่ยนการกำหนดมาตรการและแนวปฏิบัติในการเดินทางข้ามจังหวัดของแรงงานข้ามชาติแทน ทั้งนี้เพื่อ อำนวยความสะดวกในการจัดทำเอกสารหนังสือเดินทาง และความจำเป็นในการจ้างงานแรงงานข้ามชาติ  และป้องกันการหลุดออกนอกระบบสำหรับแรงงานข้ามชาติที่มีความจำเป็นในการเดินทางข้ามจังหวัด 

5.กระทรวงแรงงานควรพิจารณามาตรการควบคุมการดำเนินการในเรื่องการจัดเก็บค่าบริการของบริษัทนำคน ต่างด้าวเข้ามาทำงานกับนายจ้าง ที่รับผิดชอบดำเนินการจัดทำเอกสารหนังสือเดินทางหรือเอกสารแทน

หนังสือเดินทางในเรื่องค่าบริการ โดยนำเอาแนวทางมาตรา 42 ของพรก.การบริหารจัดการการทำงานของ คนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม รวมถึงกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับค่าบริการของบริษัทนำคนต่าง ด้าวเข้ามาทำงานกับนายจ้าง มาบังคับใช้โดยอนุโลม หรือกำหนดมาตรฐานเทียบเคียงกัน ในกรณีที่มีการใช้ บริการดำเนินการจากบริษัทจัดหางานหรือบริษัทนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานกับนายจ้างในการดำเนินการ จัดทำเอกสารประจำตัวหรือกระบวนการในการขออนุญาตทำงาน เพื่อป้องกันมิให้มีการเรียกเก็บค่าบริการที่ สูงเกิน จนกลายเป็นภาระทางการเงินและภาระหนี้สินแก่แรงงานข้ามชาติและควรควบคุมให้ดำเนินการได้ 

เฉพาะบริษทนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานกับนายจ้างที่จดทะเบียนกับกรมการจัดหางานแล้วเท่านั้น 6.กระทรวงแรงงานควรพิจารณาทบทวนแนวทางในการนำเข้าแรงงานข้ามชาติตามระบบ MoU โดยให้มีการลด ขั้นตอนและค่าใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นให้เกิดการนำเข้าแรงงานตาม MoU ดำเนินการหารือกับประเทศต้นทางใน การลดขั้นตอนการดำเนินการบางส่วนที่จะทำให้เกิดความล้าของการนำเข้า และความเสี่ยงต่อการระบาด ของโรค เช่น การอนุญาตให้นายจ้างสามารถคัดเลือกและจัดทำสัญญาจ้างกับแรงงานข้ามชาติต่อหน้า เจ้าหน้าที่รัฐผ่านช่องทางออนไลน์ได้ เป็นต้น รวมทั้งพิจารณาถึงทางเลือกในการกักตัวอื่น ๆ ที่นอกเหนือจาก การกักตัวที่ชายแดนภายใต้มาตรการควบคุมโรคอย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดความสะดวกในการนำเข้าแรงงานให้ สอดคล้องกับความต้องการแรงงานในภาคการผลิตมากขึ้น และพิจารณาลดค่าธรรมเนียมค่าใช้จ่ายบางส่วน เพื่อลดภาระค่าใช้ทั้งของนายจ้างและแรงงานข้ามชาติให้มากขึ้น 

จึงเรียนมาเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป 

ขอแสดงความนับถือ 

(นายอดิศร เกิดมงคล) 

ผู้ประสานงานเครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ 

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 

เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ [email protected] หรือโทรศัพท์091 838 6265