เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติมีเป้าหมายอยากเห็นการพัฒนากิจการประมงแลอาหารทะเลของไทย มีความก้าวหน้า ได้รับการยอมรับในเวทีระหว่างประเทศและเวทีการค้าระหว่างประเทศ ดังนั้น การคำนึงถึงองค์รวมทั้งในเรื่องการผลิต การบริหารจัดการ และการคุ้มครอง และยืนยันว่าประเด็นแรงงานเป็นประเด็นสำคัญในการบริหารจัดการประมงที่ยั่งยืน ถูกกฎหมาย และเป็นธรรม จึงเรียนถึงคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฯเพื่อพิจารณาความเห็นและข้อเสนอของเครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติในการคงบทบัญญัติคุ้มครองแรงงานไว้เป็นส่วนหนึ่งของร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 พ.ศ. …. ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการพัฒนาของกิจการประมงทะเลไทย อาหารทะเล มีความยั่งยืนและมีกลไกการควบคุมดูแลภายใต้กฎหมายที่พิจารณาทุกด้านอย่างเข้าใจ
กฎหมายการประมงที่อยู่ระหว่างการพิจารณามีหลายแง่มุมที่ไม่อาจจะหลีกเลี่ยงจะต้องกำหนดมาตรการในการดูและและคุ้มครองแรงงานในงานประมงคู่กันไปด้วย ทั้งยังปฏิเสธไม่ได้ว่าในกระบวนการผลิด การประกอบกิจการประมง การกำหนดมาตรการที่เกี่ยวกับการประมงไม่สามารถแยกขาดจากกระบวนการจ้างงานได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องรูปแบบการดำเนินการในกิจการประมง การกำหนดประเภท จำนวนของแรงงานในงานประมง เกณฑ์อายุขั้นต่ำ การตรวจสอบกระบวนการผลิตที่ครอบคลุมทั้งการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สิทธิแรงาน และความยั่งยืนในการประกอบกิจการ เป็นบรรทัดฐานทางสังคมของตลาดอาหารทะเลในโลก
Attachment | Size |
---|---|
khxkangwlicaelakhxesnxkhxngekhruuexkhay_chbabsmbuurn.pdf (78.16 KB) | 78.16 KB |