Skip to main content

21 มิถุนายน 2560

เรื่อง ความเห็นต่อประเด็นการใช้อำนาจของอธิบดีกรมประมง ตามมาตรา 83 แห่ง พระราชกาหนดการประมงเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคประมง

เรียน อธิบดีกรมการจัดหางาน

สาเนา อธิบดีกรมประมง

ตามที่ สมาคมการประมงแห่งประเทศไทย มีหนังสือถึงรัฐบาล เรื่องปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคประมง ซึ่งกระทรวงแรงงานไม่มีนโยบายเปิดจดทะเบียนผ่อนผันแรงงานต่างด้าวที่เข้าเมืองโดย ผิดกฎหมายแล้ว และจากการประชุมศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทาการประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) ที่ผ่านมา มีมติให้กรมประมงพิจารณาใช้อำนาจตามมาตรา 83 แห่งพระราชกาหนดการประมง พ.ศ. 2558 โดยให้ผู้ประกอบการแจ้งความต้องการแรงงานต่างด้าวว่าเรือประมงแต่ละลายังขาดแคลนแรงงานจานวนกี่คน จากนั้นอธิบดีกรมประมง จะผ่อนผันให้แรงงานอยู่ในราชอาณาจักรและสามารถทำงานประมงเป็นการชั่วคราว 1 ปี โดยกรมประมงจะออกเอกสาร Sea book เป็นเอกสารประจาตัวให้แก่แรงงานต่างด้าวดังกล่าว และกาหนดให้แรงงานกลุ่มดังกล่าวดาเนินการตรวจสัญชาติต่อไป ปัจจุบันมีความต้องการแรงงานประมงอีกประมาณ 40,000 คน
วันที่ 19 มิถุนายน 2560 อธิบดีกรมการจัดหางาน ได้เชิญตัวแทนองค์กรภาคประชาสังคม ร่วมประชุมชี้แจงการดาเนินงานตามร่างพระราชกาหนดการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว พ.ศ… และการบังคับใช้มาตรา 83 แห่งพระราชกาหนดการประมง พ.ศ.2558 โดยในส่วนของการบังคับมาตรา 83 นั้น องค์กรเครือข่ายประชากรข้ามชาติ ขอสรุปข้อคิดเห็นและข้อเสนอขององค์กรภาคประชาสังคมที่เข้าร่วมประชุม ดังต่อไปนี้

1. การอนุญาตให้ทำงาน เป็นบทบาทหลักของกระทรวงแรงงาน ที่เชื่อมโยงกับการคุ้มครองแรงานตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน การประกันสังคมและเงินทดแทน ตลอดจนการบริหารทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

2. การสารวจความต้องการแรงงานต่างด้าว เป็นบทบาทของกรมประมง ที่ควรสารวจให้เห็นถึงความต้องการแรงงานที่แท้จริงในภาคกิจการประมงทะเล เนื่องจากการพิจารณาความต้องการแรงงานประมงจะต้องพิจารณาความสอดคล้องระหว่างกาลังแรงงานในเรือประมงกับประเภทของเรือประมง รวมถึงการกากับดูแลโดยศูนย์แจ้งเข้าแจ้งออกจากท่าเรือ (PIPO) ซึ่งกิจการประมงประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานมาอย่างต่อเนื่อง และที่ผ่านมา การใช้แรงงานที่ได้รับการผ่อนผัน ก็ยังไม่ตอบสนองต่อปัญหานี้

3. รัฐบาลไทย ควรสารวจความพร้อมของรัฐบาลประเทศต้นทาง ด้านความร่วมมือในการสนับสนุนให้แรงงานเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สัญชาติ ภายหลังจากที่มีการออกเอกสาร Seaman ให้กับแรงงาน เนื่องจาก องค์กรภาคประชาสังคม พบว่า กระบวนการพิสูจน์สัญชาติในปัจจุบัน ยังไม่ได้รับความร่วมมืออย่างเต็มที่จากประเทศต้นทาง
4. รัฐบาลไทย จาเป็นต้องมีแผนการรองรับ มีกระบวนการติดตาม ตรวจสอบ หรือ ลดปัจจัยเสริม ที่ทาให้แรงงานประมงไหลไปสู่กิจการอื่น ที่มีสภาพการทำงาน ค่าจ้าง และสวัสดิการที่แตกต่างกัน ซึ่งจะนาไปสู่การขาดแคลนแรงงานในภาคประมงอีก เช่นเดียวกับบทเรียนในกิจการแปรรูปสัตว์น้า

5. ควรพิจารณาปรับสภาพการทำงาน ให้มีสภาพการทำงานที่ดี (Decent Work) สามารถสร้างแรงจูงใจแก่แรงงาน แม้กระทรวงแรงงานได้มีแนวคิดในการเสนอปรับค่าจ้างขั้นต่าในกิจการประมง เป็นวันละ 400 บาท ให้นายจ้างจัดสวัสดิการ อาหารและที่พักและการทาประกันภัยหมู่ให้กับลูกจ้างนั้น เห็นว่า ในอนุสัญญาองค์การด้านแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 188 ซึ่งประเทศไทยมีแนวโน้มจะให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาดังกล่าว กาหนดให้การประกันสังคมแก่แรงงานประมง ต้องไม่แตกต่างและต่ากว่าระบบการประกันสังคมทั่วไป ดังนั้น การใช้ประกันชีวิตของเอกชนสาหรับกับแรงงานประมง จึงไม่ควรแตกต่างและต่ากว่าระบบการประกันสังคมของรัฐ

6. ควรพิจารณาให้แรงงานที่ได้รับ Sea book ซึ่งเป็นใบอนุญาตทำงาน สามารถขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิกของกองทุนประกันสังคมของรัฐ และกาหนดให้กิจการประมง เป็นกิจการที่ให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทน ตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.2537 เนื่องจากประกันสุขภาพหรือของเอกชน ไม่คุ้มครองกรณีลูกจ้างประสบอันตราย สูญหาย หรือเสียชีวิตระหว่างการทำงาน

7. ควรใช้มาตรฐานในการกากับดูแลนายจ้างและแรงงาน ให้เป็นไปตาม (ร่าง) พระราชกาหนดบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว โดยกาหนดให้นายจ้างวางหลักประกันความเสียหายอันเกิดจากการนาคนต่างด้าวมาทำงานที่รัฐสามารถพิจารณาหักหลักประกันที่วางไว้กับกระทรวงแรงงานหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อใช้ในการชดเชยค่าเสียหายได้ รวมถึงหน้าที่ในการส่งกลับแรงงานต่างด้าวและแจ้งต่อหน่วยงานรัฐ

8. ควรนาเรื่องปัญหาการขาดแคลนแรงงานในกิจการประมงทะเล เสนอต่อคณะกรรมการตาม (ร่าง) พระราชกาหนดบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว เพื่อกาหนดแนวทางแก้ไขปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

9. กรณีเข้ามีส่วนร่วมในลักษณะ Third party ภาคประชาสังคมยินดีให้ความร่วมมือ แต่จาเป็นต้องพิจารณาในรายละเอียดและหารือร่วมกัน รวมถึงรูปแบบการสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐ


ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ นายอดิศร เกิดมงคล ผู้ประสานงาน เครือข่ายประชากรข้ามชาติ
โทรศัพท์ 089 788 7138 หรือ อีเมลล์ [email protected]