Skip to main content
รายการฉบับนี้พบว่า แรงงานข้ามชาตินั้นพบว่าส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงประกันสุขภาพผ่านกระบวนการจดทะเบียนแรงงานข้ามชาติตามมติคณะรัฐมนตรี แต่ในแง่การจัดการยังพบว่ามีข้อจำกัด ซึ่งมีผลกระทบต่อการเข้าถึงประกันสุขภาพของประชากรข้ามชาติหลายประการ เช่น 
 
1.   ปัญหาความสับสนในนโยบายการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติหรือการทะเบียนแรงงานข้ามชาติของรัฐบาล ทำให้บางช่วงมีแรงงานข้ามชาติที่ต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพในเวลาใกล้เคียงกันสองกลุ่ม ทำให้เกิดความสับสนในการตรวจสุขภาพและขายประกันสุขภาพโดยสถานพยาบาล ทำให้แรงงานข้ามชาติจำนวนมากไม่สามารถซื้อได้
2.   ความล่าช้าในการดำเนินการ และเปิดโอกาสให้นายหน้าเข้ามาแสวงหาประโยชน์จากการรับดำเนินการทำให้ค่าใช้จ่ายในการประกันสุขภาพจึงเพิ่มมาก
3.      การแสดงหลักฐานใบเสร็จการซื้อประกันสุขภาพควบคู่กับบัตรประกันสุขภาพ หนังสือเดินทางและใบอนุญาตทำงานเป็นการสร้างเงื่อนไขที่เกินกว่าความจำเป็น
4.   การดำเนินการในระดับพื้นที่ ซึ่งพบว่ายังมีแนวทางในการดำเนินการที่ไม่ตรงกันและอาจจะไม่สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข เช่น ไม่ขายประกันสุขภาพให้แก่คนที่ไม่มีเอกสารแสดงตน ไม่ขายประกันสุขภาพให้แก่เด็กที่ป่วย การปฏิเสธที่จะขายประกันสุขภาพให้แก่ประชากรข้ามชาติหญิงที่ตั้งครรภ์
5.   แรงงานข้ามชาติและประชากรข้ามชาติส่วนใหญ่ไม่มีข้อมูลในเรื่องที่เกี่ยวกับประกันสุขภาพ 
6.  ปัญหาเรื่องภาษาการสื่อสารระหว่างหน่วยบริการกับประชากรข้ามชาติ ทัศนคติและท่าทีในการให้บริการของเจ้าหน้าที่ในระดับปฏิบัติการต่อแรงงานข้ามชาติ รวมทั้งความล่าช้าและความไม่แน่นอนของการจัดบริการของสถานพยาบาล7.      การเปิดช่องให้แรงงงานต่างด้าวสามารถตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพกับบริษัทประกันภัยเอกชนซึ่งไม่กำหนดอัตราค่าใช้จ่ายในการใช้บริการรักษาพยาบาล ไม่ครอบคลุมสิทธิประโยชน์ในเรื่องการคลอดบุตร โรคบางประเภท การส่งเสริมป้องกันและควบคุมโรค ทำให้เกิดความกังวลใจว่าหากมีการโรคระบาดในกลุ่มแรงงานข้ามชาติ รวมทั้งเมื่อเกินวงเงินรักษาพยาบาลตามเงื่อนไขกรรมธรรม์แล้วแรงงานต่างด้าวก็จะต้องมารับบริการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลโดยอาจจะเรียกเก็บค่าใช้จ่ายไม่ได้
Attach files
Attachment Size
sthankarndansiththithangsukhphaphkhxngprachakrkhamchati.pdf (263.74 KB) 263.74 KB