Skip to main content

ข้อห่วงใยและข้อเสนอต่อผลกระทบการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติจากพม่าในกรณีสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ชายแดนไทย-พม่า

จากสถานการณ์ชายแดนไทย-เมียนมา ตรงข้ามพื้นที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2567 เป็นต้นมา ได้ทวีความรุนแรงขึ้นตามลำดับ โดยกลุ่มต่อต้านรัฐบาลทหารเมียนมาที่ประกอบด้วยกองกำลังผสมจากกองกำลังสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (KNU) กองกำลังพิทักษ์ประชาชน (PDF) และกองกำลังพิทักษ์ชายแดน (BGF) ได้เข้าโจมตีฐานที่มั่นของทหารเมียนมาในพื้นที่รอบเมืองเมียวดี รัฐกะเหรี่ยง และสามารถเข้ายึดฐานที่มั่นของทหารเมียนมาได้อย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มว่า อาจจะลุกลามจนทำให้เกิดการปิดด่านชายแดน ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการเดินทางและความปลอดภัยของประชาชนในพื้นที่ชายแดน รวมทั้งผู้ที่ต้องเดินทางในพื้นที่ชายแดน ทั้งนี้ในปัจจุบั

เวทีสัมมนาระดมความคิดเห็นในเรื่อง “แนวทางการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติหลัง 13 กุมภาพันธ์ 2568 และการปฏิรูประบบการนำเข้าแรงงานตามระบบ MOU : ข้อเสนอจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง”

นโยบายการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติของไทย และสถานการณ์ในประเทศต้นทางมีผลกระทบต่อการจ้างแรงงานข้ามชาติอย่างชัดเจน ในขณะที่ปัจจุบันประเทศไทยมีระยะเวลาในการวางแผนการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติที่ส่วนใหญ่จะสิ้นสุดการอนุญาตทำงานในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 ดังนั้นเพื่อป้องกันการเกิดผลกระทบต่อการจ้างแรงงานไทย ที่จะเกิดขึ้นกับผู้ประกอบการ แรงงานข้ามชาติ และเศรษฐกิจของไทยโดยรวม รวมทั้งเพื่อให้เกิดแนวทางการวางแผนการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติในระยะยาว ทางเครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติจึงจัดให้มีการสัมมนาระดมความคิดเห็นในเรื่อง “แนวทางการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติหลัง 13 กุมภาพันธ์ 2568 และการปฏิรูป

บทวิเคราะห์การแก้ไขกฎหมายการประมงของประเทศไทย

จากการวิเคราะห์ของ EJF มีมาตราทีน่ากังวลจากร่างกฎหมายอย่างน้อย 17 มาตราจากร่างทัง 8 ฉบับ ทีอาจ ส่งผลต่อความโปร่งใส ยังยืน และการคุ ้มครองแรงงานหลายประการทีเคยมีในช่วง 8 ปีทีผ่านมา EJF ทําการ ประเมินในเชิงลึกสําหรับประเด็นแก้ไขทีสร้างความกังวลและเร่งด่วนทีสุด จํานวน 7 ประเด็นด้านล่างนี พร้อม ทังเปรียบเทียบมาตราทีน่ากังวลทังหมด 17 มาตราสามารถอ่านได้ในหน้า 20-28 จากการวิเคราะห์ร่างทัง 8 ฉบับ จะเห็นได้ว่าร่างของพรรคก้าวไกลมีข้อเสนอแก้ไขที “สุดโต่ง” ทีสุด จากทัง 17 มาตราที EJF รวมถึงกลุ ่มประมงพืนบ้าน และองค์กรแรงงานพิจารณาเห็นว่ามีปัญหาและน่ากังวล ร่างของ พรรคก้าวไกลมีการแก้ไขคิดเป็นสัดส่วนถ

แถลงท่าทีและข้อเสนอแนะของเครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติต่อรัฐบาลไทยก่อนการเลือกตั้งคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ

เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ และภาคีภาคประชาสังคมด้านสิทธิมนุษยชน มีข้อเสนอและข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลไทยในการพัฒนามาตรการในการปกป้องและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในกลุ่มแรงงานข้ามชาติและผู้ลี้ภัยดังนี้

สถานการณ์และข้อเสนอเชิงนโยบายเรื่องผู้ลี้ภัยและผู้แสวงหาที่พักพิง

ความเสี่ยงของผู้ลี้ภัย ส่วนใหญ่เป็นผู้หลบหนีเข้าเมืองผิดกฏหมายหรืออยู่อาศัยโดยไม่ได้รับอนุญาติ ก็จะมีความเสี่ยงต่อการจับกุม กักขังอย่างไม่มีกำหนด ผลักดันกลับประเทศต้นทาง เสี่ยงต่อการแสวงประโยชน์โดยมิชอบตามกฏหมายจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ ได้รับความช่วยเหลือจาก UNs และ NGOs อย่างจำกัด เข้าถึงบริการพื้นฐานของภาครัฐเช่น การศึกษา สาธารณสุข ได้ยากลำบาก บันทึกความเข้าใจการกำหนดมาตรการและแนวทางแทนการกักตัวเด็กไว้ในสถานกักตัวคนต่างด้าวเพื่อรอการส่งกลับ (ATD-MOU) ส่วนใหญ่ผู้ลี้ภัยเด็กและครอบครัวจากกลุ่มนี้จะได้รับประโยชน์จากนโยบายดังกล่าวแต่ยังมีปัญหาในเชิงนโยบายและการจัดการ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการแก้ไข เช่

แถลงการณ์ร่วมภาคประชาสังคม เรื่องภาคประมงของไทยในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ

พวกเราที่มีรายนามตามท้ายของหนังสือฉบับนี้ ขอเรียกร้องท่านนายกรัฐมนตรีด้วยความเคารพและใคร่ขอให้ท่านดำเนินการโดยทันทีเพื่อให้แน่ใจว่ากฎระเบียบป้องกัน IUU และกลไกความโปร่งใสที่มีอยู่ในปัจจุบันทั้งในกฎหมายและข้อบังคับได้รับการคุ้มครองและมีความเข้มแข็ง แทนที่จะถูกผ่อนปรนหรือเพิกถอน รัฐบาลควรขยายการคุ้มครองสิทธิของลูกเรือข้ามชาติ ไม่ใช่ลดทอนกฎระเบียบให้อ่อนแอลง นอกจากนี้ยังควรปฏิรูปพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.
Subscribe to